ทำความรู้จักสังคมนิยมคืออะไร ข้อดี ข้อเสียอย่างไร

สังคมนิยมคืออะไร ข้อดี ข้อเสียอย่างไร

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism )

หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน(Planned Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้น เป็นระบบเศรษฐกิจแบบที่รัฐนั้นได้ทำการเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยที่รัฐบาลนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตต่างๆแก่ประชาชน นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้เป็นผู้ที่ทำการตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจอีกด้วย โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง โดยปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่นั้นรัฐบาลจะเป็นเจ้าของ ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบนี้ แต่ก็ยังคงมีการให้สิทธิเอกชนในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว เช่น ที่พักอาศัย ฯลฯ โดยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้น  จะเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะ วิธีการ และรูปแบบที่แตกต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  อาจถือได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาจาก หลักเสรีนิยมนั้นเอง โดยที่เสรีนิยมนั้นเป็นแนวความคิดดั้งเดิมของประชาธิปไตย แต่เมื่อมีการจะนำมาใช้จริงแล้วก็ยังมีหลักที่ขัดข้องอยู่ในบางประการ ดังนั้นสังคมนิยมจึงเป็นทางแก้ปัญหาในจุดที่ขัดข้องของระบบเสรีนิยม ที่ทำให้คนในสังคมนั้นได้รับสิ่งที่ตนเองต้องการ ตามความเหมาะสม และยังเป็นแนวทางที่จะป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ จากผู้ที่มีเงินมากหรือเศรษฐี

ทฤษฎีสังคมนิยมนั้น ถูกค้นพบครั้งแรกใน ผลงานของ plato ในเรื่อง Republick  เพราะท่านได้เสนอให้ชนชั้นปกครองนั้นไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเอง และถือกรรมสิทธิ์ที่เป็นทรัพย์สินในของส่วนรวม  นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้การยอมรับว่า ความคิดของสังคมนิยมในสมัยใหม่นั้นได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี ของ คริสต์ศตวรรษที่ 18  Robert Owen ผู้ให้กำเนิดสังคมนิยมในอังกฤษ เพราะท่านผู้นี้นั้นได้นำหลักการบางอย่างของสังคมนิยมไปใช้และปฏิบัติมันอย่างจริงจัง จนสามารถมีอิทธิพลต่อการกำเนิดของจุดหมายปลายทาง นโยบายต่างๆ บทบาทของแต่ละคน อำนาจและกลไกต่างๆของรัฐ สังคมนิยมได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอ เพราะด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนี้นั้น ได้ก่อกำเนิดให้มีผู้ซึ่งไร้สมบัติไว้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สวัสดิภาพต่างๆและการประกันสังคมของผู้คนที่ประกอบอาชีพ กรรมกร และชาวนา

 

  หลักสำคัญของระบบสังคมนิยมนั้น

-ในทางการเมืองจะใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน ให้ประชาชนได้ทำการปกครองตนเอง ในการกำหนดนโยบายด้านสวัสดิการหรือการกำจัดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน จะต้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่มในการตัดสินใจ

-ระบบสังคมนิยมจะต่อต้านความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม

-ระบบสังคมนิยมจะต่อต้านอิทธิพลของเงินตรา

-สังคมนิยมแบบประชาธิปไตยนั้น ได้ก่อรูปขึ้นมาอย่างชัดเจน หลังจากที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

-ให้กิจการสำคัญๆ ที่ได้มีขนาดใหญ่รวมถึงเป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วไปนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานสาธารณะ หรือให้องค์การของรัฐบาลนั้นเข้ามาควบคุม

-ให้มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมที่สำคัญเป็นรัฐ

-ไม่ยอมรับวิธีการปฏิวัติ หรือความรุนแรงใดๆ ที่ใช้นำไปสู่อำนาจ

-ใช้วิธีการแบบรัฐบาล ซึ่งเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จะสามารถก่อให้เกิดปฎิรูปได้

-พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลที่ไม่ใช่สังคมนิยมล้วน

-ยอมโอนกิจการให้กับรัฐ เพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจต่างๆ และการจัดสรรรายได้ให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

-การประกอบการทางเศรษฐกิจนั้นต้องได้สัดส่วนระหว่างรับและเอกชน

-สังคมนิยมนั้นต่อต้านระบบเผด็จการทุกรูปแบบ

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม 

  • ประชาชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น
  • ประชาชนมีรายได้ที่ใกล้เคียงกัน เศรษฐกิจนั้นไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก
  • รับจะเป็นฝ่ายที่ควบคุมปัจจัยพื้นฐานไว้หมดทุกอย่าง และควบคุมกิจการสาธารณูประโภคทั้งหมด

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

1) ประชาชนนั้นจะมีแรงจูงใจในการทำงานที่ต่ำ เพราะกำไรตกเป็นของรัฐ

2) ผู้บริโภคมีโอกาสที่จะเลือกสินค้าได้น้อยลง

3) ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจของตนเอง

4) สินค้าที่ได้นั้นอาจไม่มีคุณภาพ เพราะไม่มีการแข่งขัน เลยทำให้ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิต