Social enterprise

‘Social enterprise’ คืออะไร ?

‘Social enterprise’ คือ กิจการเพื่อสังคม โดยอาจเป็นคำทางด้านธุรกิจอันน่าสนใจ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคำว่า ‘CSR’ ธุรกิจพิเศษในยุคปัจจุบัน ที่มีกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม โดยรู้จักกันดีว่ายังมีเป้าหมายสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การสร้างกำไรสูงสุด เป็นต้น หากแต่ในขณะเดียวกัน เจ้าของธุรกิจบางรายให้ความสนใจ ในการจะช่วยเหลือสังคม จึงได้มีการแบ่งกำไรบางส่วน ให้ออกไปช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้นในด้านต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก , เงินจ้างแรงงานในชนบท เป็นต้น

มาทำความรู้จักกับ ‘Social enterprise’ กันให้มากขึ้นดีกว่า

Social enterprise
Social enterprise ธุรกิจเพื่อสังคม

Social Enterprise คือ ธุรกิจที่มีรายรับมาจากการขาย – ผลิตสินค้า ตลอดจนการให้บริการที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายบางประการอย่างชัดเจน สำหรับการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้อาจมีการตั้งแต่ค่าตั้งแต่แรกเริ่ม หรือ มีการกำหนดเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง สำหรับในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการพัฒนาชุมชน , สังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยไม่ได้มีเป้าหมายหลักในการสร้างกำไรสูงสุด อย่างธุรกิจทั่วไปเท่านั้น

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพจริง เช่น ย้อนเหตุการณ์ไปเมื่อ ‘Grameen Bank’ หรือ ธนาคารคนจน ที่ ‘Dr. Muhammad Yunus’ นายธนาคารพ่วงด้วยตำแหน่งนักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ ผู้ริเริ่มรวมทั้งเป็นผู้พัฒนาแนวคิด ‘Microcredit’ หรือให้การกู้เงินโดย ไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันแต่อย่างใด โดยจะให้กู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก หรือชาวบ้านที่ยากจน เกินกว่าจะมีคุณสมบัติครบ ที่จะได้กู้เงินจากธนาคารทั่วไป นอกจากนี้ยังการตั้งกฎเกณฑ์ในการคิดคำนวณดอกเบี้ยเอาไว้อีกด้วยว่า ต้องไม่สูงจำนวนกว่ายอดเงินต้น โดยมีกฎว่าถ้าลูกหนี้ไม่จ่ายเมื่อไรดอกเบี้ย ก็จะหยุดทันทีโดยปราศจากทบต้นทบดอก เป็นต้น

จากการดำเนินการมาอย่างยาวนานมากกว่า 30 ปี ผลปรากฏให้เห็นว่ามีผู้กู้จำนวนถึง 99 % ชำระหนี้คืนครบถ้วน อีกทั้งยังทำให้ชาวบังกลาเทศที่เคยยากจนติดอันดับโลก พร้อมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่จากเฉลี่ยปีละ 2 % ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

Social enterprise’ มีการทำกิจกรรมพิเศษต่างๆ ดังต่อไปนี้…

  • ขั้นตอนผลิต ตลอดจนผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว
  • มีการกำกับดูแลธุรกิจอย่างดีเยี่ยม
  • มีศักยภาพเพียงพอที่จะมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตัวเอง
  • ผลกำไรส่วนใหญ่จากการดำเนินงาน จะถูกนำไปใช้เพื่อการลงทุน ในการขยายผลเพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย
  • มีรูปแบบองค์กรที่หลากหลายได้มากมาย

สำหรับลักษณะของกิจการเพื่อสังคมนี้ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดการประสานความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงาน กับผลตอบแทนในด้านสังคม รวมทั้งให้ผลตอบแทนทางการเงิน ที่ต้องการสร้างผลตอบแทนให้แก่สังคมตลอดจนสิ่งแวดล้อม จากการใช้รูปแบบบริหารจัดการธุรกิจให้เข้ากับการทำประโยชน์แก่สังคมร่วมกันนั่นเอง