โลกของเราดูเหมือนจะหมุนเร็วขึ้น เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงพวกเราไว้ด้วยกัน ทำให้ข่าวสารเข้าถึงทุกคนได้ง่าย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ดี เว้นแต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลที่เราเห็นนั้น มันมีความน่าเชื่อถือหรือเราจะเข้าใจสถานการณ์จริงได้มากน้อยแค่ไหน นั่นจึงทำให้เราต้องมีกระบวรความคิดเข้ามาจัดการคือการ “วิเคราะห์” ข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการที่เรียกว่า “5W 1H” ประกอบไปด้วย Who Where Why When What และ How หมายความว่า “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เพื่ออะไร และ อย่างไร” โดยนอกจากนี้แล้วยังต้องอาศัยหลักการอื่นๆ เข้ามาเสริมเพิ่มเติม จึงจะวิเคราะห์ได้อย่างสมบูรณ์ ได้แก่

1.กรอบความคิด (Frame Work of Analysis) สร้างกรอบความคิดในเรื่องที่เราจะนำมาวิเคราะห์
2.หน่วยวิเคราะห์ (Analysis Unit) ทุกเรื่องควรจะต้องมีหน่วยย่อยเสมอ เมื่อพูดถึงเรื่องที่ใหญ่กว่า ย่อมจะต้องมีหน่วยที่เล็กกว่าเสมอ
3.มุมมอง (Perspective) เลือกใช้มุมมองต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างฉลาด
4.คุณค่า (Value) จงแยกให้ออกระหว่างความคิดเห็นส่วนตัว กับการวิเคราะห์อย่างมีหลักการ โดยอาศัยข้อเท็จจริงอ้างอิง มากกว่าที่จะนำความรู้สึกส่วนตัวมาใช้
5.ข้อสรุป (Conclusion) ทุกเรื่องย่อมมีบทสรุป โดยเฉพาะทุกการวิเคราะห์ การสรุปจะทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสิ่งที่นำเสนอมาทั้งหมดดีมากขึ้น
บทการวิเคราะห์แต่ละรูปแบบ
1.รายงานแบบตรงไปตรงมา เป็นการรายงานข่าวตรงให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้อ่าน (ผู้ที่ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอย่างไร) กับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วจะใช้หลักโครงสร้างปิรามิดแบบกลับด้าน พร้อมกับข้อมูลที่แสดงตามลำดับความสำคัญ
2.รายงานโดยอาศัยเนื้อเรื่อง รายงานครอบคลุมหัวข้อหรือบุคคลในเชิงลึกมากกว่าข่าว นักวิเคราะห์มีอิสระที่จะคิดแลเขียนมากขึ้นในการใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง หรือการยกเอาเรื่องราววรรณกรรมมาอ้างอิง อาจมาพร้อมกับภาพถ่ายภาพประกอบ หรือกราฟิกชนิดอื่นๆ
3.รายงานโดยด้วยข้อคิดเห็น ซึ่งแตกต่างจากอีกสองประเภท เป็นการรายงานที่ให้นักเขียน สามารถแสดงความคิดท่าทางในประเด็นเฉพาะหรือการอภิปราย มักจะเขียนโดยคนที่อยู่นอกสนามวารสารศาสตร์ แต่ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อ เช่น นักกฎหมายที่เขียนเกี่ยวกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หรือ นักข่าวที่กำลังวิเคราะห์เรื่องเสรีภาพของสื่อในสังคมยุคปัจจุบัน
ตัวอย่างการวิเคราะห์เหตุการณ์ในปัจจุบัน
เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลงอย่างช้าๆ สาเหตุเกิดจากสงครามการค้าสองขั้วมหาอำนาจ สหรัฐ-จีน ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของหลายประเทศต้องหยุดชะลอดูท่าทีของยักษ์ทั้งสอง เพราะการตัดสินใจของคนใดคนหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายเยอะสุด คือ ผู้ประกอบการต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไปตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศจีน ซึ่งถ้าเหตุการณ์เป็นแบบนี้ต่อไป อาจต้องย้ายกลับมาสร้างโรงงานใหม่ในประเทศ ต้องสูญเวลาและเงินเป็นจำนวนมหาศาล
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าครั้งนี้มากนัก เพราะสินค้าที่ถูกปรับขึ้นภาษีเมื่อเทียบกับการส่งออกโดยรวมของไทยถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก ดังนั้นทำให้ผู้ประกอบการ SME อาจต้องเจอกับความลำบากเล็กน้อยจากผลกระทบของค่าเงินบาท เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเป็นช่องทางใหม่ในขยับขยายการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประเทศจีนไม่สามารถป้อนสินค้าให้กับสหรัฐฯ ได้มากพอเหมือนก่อนอีกต่อไป
นี่เป็นเพียงตัวอย่างการวิเคราะห์ข่าวจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ระหว่างความขัดแย้งของสองมหาอำนาจ ที่เริ่มต้นมาที่สหรัฐฯแบนสินค้าของหัวเหว่ยจากประเทศจีน จะเห็นได้ชัดว่าปัญหามันเริ่มบานปลายมากกว่าแค่เป็นเรื่องของบริษัทเดียว ซึ่งถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอ เราจะสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์จริงได้ ดังนั้นจึงการจะทำให้ออกมาได้ดี จึงควรมุ่งมั่นในการหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะมันเป็นกุญแจสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการวิเคราะห์ข่าวและสถานการณ์